วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคที่สำคัญในสุกร




1. โรคอหิวาต์สุกร เป็นได้สุกรทุกอายุ มีอัตราการป่วยเกือบ100 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการตาย 100
เปอร์เซ็นต์
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอชซี– ไวรัส
การติดต่อ ระบาดรวดเร็ว การสัมผัส การกินเข้าไป แม่ผ่านรกไปลูกในท้อง การสูดดมปัสสาวะ
และมูลสัตว์ป่วย ติดมากับคน และแมลงต่างๆ
อาการ แบบชนิดเฉียบพลัน รุนแรง หรือแบบเรื้อรัง สุกรบางตัวตายอย่างรวดเร็วภายใน 4 – 8
วันหลังจากรับเชื้อเข้าไป สุกรบางตัวจะมีไข้สูง แสดงอาการเคี้ยวฟัน หนาวสั่น หลั่งโก่ง เกร็งตัวแบบแข็งเป็นตะคริว แบบเรื้อรังสุกรจะมีอาการซูบผอม หลังโก่ง ขาหลังอ่อนแอ เดินไม่ตรง มักพบผิวหนังอักเสบเรื้อรังอยู่เสมอ การรักษา ไม่มียารักษาที่ให้ผล การป้องกันโรคแทรกซ้อนเท่านั้น
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันแก่สุกรทุกตัว เมื่ออายุ 2 – 3 เดือน แม่สุกรสาวควรฉีดวัคซีนก่อน
ผสมพันธุ์ พ่อและแม่พันธุ์ควรฉีดวัคซีนซ้ำทุกปี
2. โรคปากและเท้าเปื่อยในสุกร ระบาดอย่างรวดเร็ว แม่สุกรที่กำลังตั้งท้องมักแท้งลูก ติดต่อระหว่างสัตว์กีบคู่ด้วยกัน เช่น วัว ควาย แพะ แกะ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ประเทศไทยพบเชื้อชนิด เอ โอ เอเชีย 1
การติดต่อ การสัมผัสโดย การกิน การหายใจ และจากน้ำเชื้อของพ่อสุกร รวมทั้งพาหนะต่างๆ
อาการ อาการที่พบได้แก่ จมูกแห้ง ซึม เบื่ออาหาร เป็นไข้ ปากอักเสบ เกิดเม็ดตุ่มในกระพุ้ง
แก้ม เหงือก เพดานปาก ลิ้น และเท้า สุกรไม่อยากลุกเดินและกินอาหาร ต่อมาตุ่มเหล่านี้จะพุพอง
การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง
การป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
3. โรคแท้งติดต่อในสุกร คือ แท้งลูกและผสมติดยาก ติดต่อมนุษย์ได้
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บรูเซลล่า ซูอิส เกิดโรคในสุกรมากที่สุด
การติดต่อ การสัมผัสโดยตรง การกินอาหาร การดื่มน้ำที่มีเชื้อโรค การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
และการติดเชื้อทางบาดแผล
อาการ สุกรที่ติดเชื้อจะผสมไม่ติด สุกรท้องอาจแท้งลูกได้ ซึ่งมักเกิดในวันที่ 16 – 19 ของการตั้งท้อง สุกรตัวผู้จะแสดงอาการข้ออักเสบ เดินขากระเผลก อัณฑะอักเสบบวมทั้ง 2 ข้าง
การรักษา โรคนี้ไม่มียาที่รักษาได้ผล
การป้องกัน โรงเรือนให้สะอาดตลอดเวลา พ่อแม่พันธุ์ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จะต้องกำจัดทิ้ง
และควรตรวจเลือดเป็นประจำทุกปี
4. โรคพิษสุนัขบ้าเทียม เกิดได้สุกรทุกช่วงอายุ ส่วนใหญ่เกิดกับลูกสุกรหลังหย่านม สุกรขุน และสุกรอุ้มท้อง ในลูกสุกรมีอัตราการตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสุกรอายุ 4 – 6 สัปดาห์ จะมีอัตราการตายน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เฮอร์เปส ไวรัส
การติดต่อ การสัมผัสโดยตรง ทางน้ำมูก น้ำลาย ซากสัตว์ป่วย ปะปนในอาหารและน้ำ
อาการ สุกรเล็กเกิดโรคแล้วตายลงโดยไม่แสดงอาการป่วยมาก่อน บางตัวอาจพบอาการยืนหลัง
โก่ง หูตก ผิวหนังหยาบกร้าน ขนตัวชัน บางตัวหายใจมีเสียงผิดปกติ ลูกสุกรอายุ 2 – 3 สัปดาห์ อาจมี
อาการท้องเสีย อาเจียน น้ำลายเป็นฟอง มีไข้ อาการทางประสาท กล้ามเนื้อกระตุกและสั่น บางตัวแสดง
อาการชัก เคลื่อนไหวไม่ได้และเป็นอัมพาต อาจตายภายใน 12 ชั่วโมง
การรักษา การจัดการสุขาภิบาลที่ดี บริเวณที่เคยขังสุกรป่วยควรทำความสะอาดและทำลายด้วย
น้ำยาฆ่าเชื้อ
การป้องกัน ไม่มียารักษา สุกรป่วยแล้วสงสัยต้องแยกออกหรือทำลาย
5. โรคปอดอักเสบติดต่อในสุกร เป็นโรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ เกิดในสุกรทุกอายุ สุกรขนาดเล็กติดต่อได้ง่ายกว่าสุกรขนาดใหญ่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ มัยโคพลาสม่า ซูอิส นิวโมเนีย
การติดต่อ โรคนี้จะปะปนกับละอองน้ำเล็กๆ ในอากาศที่สัตว์ป่วยหายใจออกมา
อาการ มักเกิดกับสุกรเล็กอายุ 3 – 10 สัปดาห์โดยลูกสุกรจะแสดงอาการท้องเสีย ไอและจาม การ
ไอมักเป็นมากในตอนเช้า สุกรส่วนมากยังคงกินอาหารปกติและไม่ค่อยแสดงอาการป่วย แต่จะเจริญเติบโตช้า แคระแกรน
การรักษา ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอเตตราซัยคลิน และออกซี่เตตราซัยคลิน
การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุกร
1) บันทึกจำนวนสุกร
2) บันทึกการผสมพันธุ์ การคลอด การหย่านม
3) บันทึกเกี่ยวกับสมรรถภาพของลูกสุกรภายในคอกนั้น ๆ
4) บันทึกเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสุกร พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
5) บันทึกการให้ยา ให้วัคซีน บันทึกอัตราการตาย
6) บันทึกเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กิน
7) บันทึกรายรับ - รายจ่าย ของฟาร์ม

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การทำวัคซีนสุกร



นอกจากเรื่องของการป้องกันโรคโดยการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะ
สมแล้ว เกษตรกรจำ เป็นจะต้องทำ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุกรอย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งกรม
ปศุสัตว์ได้กำ หนดโปรแกรมการทำ วัคซีนให้เหมาะสม ดังนี้
อายุสุกร วัคซีนที่ฉีด
5-6 สัปดาห์                    ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร
6-7 สัปดาห์                    ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย
8-10 สัปดาห์                  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยซํ้า             
7 เดือน                           ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกรซํ้า
8 เดือน                           ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยซํ้า





วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจัดการสุกรขุน



1. สุกรที่ซื้อจากที่อื่นควรดูแหล่งที่ซื้อมาว่ามีโรคระบาดหรือไม่และการจัดการลูกสุกรหย่าเมื่ออายุ
21- 28 วัน การทำวัคซีนและผ่านการตอนมาแล้ว
2. ทำการขนย้ายสุกรในช่วงอากาศเย็น
3. ทำความสะอาดคอกก่อนนำสุกรเข้าคอก 3 วัน ด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ
4. ถ้านำมาจากข้างนอกต้องแยกคอกหรือนำเข้าคอกพักประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนนำมารวมกับ
สุกรคอก
5. หลังจากมาถึงแล้ว 4 ชั่วโมง หาอาหารหมูอ่อน โดยให้ที่ละน้อย ๆ
6. วัคซีนสำหรับสุกรขุน วัคซีนป้องกันอหิวาห์สุกร, ปากและเท้าเปื่อย
7. ต้องคัดสุกรขนาดและน้ำหนักไล่เลี่ยกันให้อยู่ในคอกเดียวกัน
8. ควรสังเกตการกินอาหาร และอาการท้องเสีย

การจัดการสุขาภิบาลและการป้องกันโรค
1. โรงเรือนควรห่างชุมชน ระบายอากาศดีไม่ร้อน อุณหภูมิประมาณ 18 องศาเซลเซียส ไม่
ควรเลี้ยงสุกรแออัดเกินไป
2. อุปกรณ์ในโรงเรือน เช่น รางน้ำ รางอาหาร พื้นคอก ต้องสะอาด
3. มีน้ำที่สะอาดให้สุกรดื่ม และมีน้ำใช้ในฟาร์มอย่างเพียงพอ
4. อาหารที่ให้กินควรใหม่เสมอ อาหารเหลือเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
5. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ตัวสุกรและโรงเรือน ก่อนนำสุกรเข้า และหลังนำสุกรออกทุกครั้ง

6. ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไปโดยไม่จำเป็น
7. หมั่นกำจัดขยะ และมูลสุกรเป็นประจำ
8. กำจัด นก หนู และแมลงวันที่เป็นพาหะของโรคบ่อยๆ
9. เมื่อสุกรป่วยขึ้น ต้องแยกเลี้ยงต่างหากจากสุกรปกติ
10. ทำวัคซีนและถ่ายพยาธิ ตามโปรแกรม
11. คอกแต่ละคอกควรมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อ
12. หมั่นตรวจสุขภาพสุกรบ่อยๆ หากผิดปกติให้รีบรักษาโดยเร็ว


วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การอนุบาลสุกรหลังหย่านม





อุปกรณ์สำหรับลูกสุกรหลังหย่านมและอนุบาล
1. ที่ให้อาหารมี2 แบบ คือ แบบรางยาว และแบบถังอาหารอัตโนมัติ
2. ที่ให้น้ำลูกสุกร มีถ้วยกินน้ำแบบจุ๊บ และจุ๊บน้ำ
3. ไฟกกลูกสุกรและวัสดุรองพื้นให้ความอบอุ่น


การให้อาหารสุกรอนุบาล
1. สุกรน้ำหนัก 6 – 8 กิโลกรัม ให้อาหารสุกรอ่อนโปรตีน 20 % จนถึงอายุ2 เดือน หรือน้ำหนัก
12- 20 กิโลกรัม
2. สุกรน้ำหนัก 20 - 35 กิโลกรัม ให้อาหารสุกรโปรตีน 18 % โดยให้สุกรกินอย่างเต็มที่โดยสุกร
สามารถกินอาหารได้วันละ 1- 2 กิโลกรัม
3. สุกรน้ำหนัก 35 - 60 กิโลกรัม ให้อาหารสุกรโปรตีน 16 % โดยสุกรสามารถกินอาหารได้วันละ
2-2.5 กิโลกรัม
4. สุกรน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ถึงส่งตลาด ให้อาหารสุกรโปรตีน 14-15 % โดยสุกรสามารถกิน
อาหารได้วันละ 2.5-3.5 กิโลกรัม



การจัดการแม่สุกรหลังคลอดและอย่านม
1. แม่สุกรหย่านมวันแรก ให้อาหารวันละ1.0 - 1.5 กิโลกรัม
2. แม่สุกรหย่านม 2 วันขึ้นไป ถึงแม่สุกรเป็นสัด ให้อาหาร
วันละ 3-4 กิโลกรัม เพื่อให้สมบูรณ์พันธุ์เร็ว
3. แม่สุกรเป็นสัดและผสมพันธุ์แล้ว ให้อาหารวันละ 1.5-2 กิโลกรัม
4. แม่สุกรไม่เป็นสัดเกิน 15 วัน แสดงว่าผิดปกติให้ลดอาหารลงเหลือ
วันละ 2 กิโลกรัม

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจัดการฟาร์มสุกร






การจัดการสุกรแม่พันธุ์
การให้อาหารสุกรพันธุ์ทดแทน จำกัดอาหารไม่ให้อ้วนเกินไป สุกรน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม
ใช้อาหารโปรตีน 16% ให้วันละ 2.25 กิโลกรัม
สุกรสาว อายุ6 เดือน น้ำหนักประมาณ 80 กก. ย้ายสุกรสาวจากคอก
ขังรวมมายังคอกขังเดี่ยว เพื่อเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ต่อไป
หลักการกระตุ้นสุกรสาวให้เป็นสัด
1. งดอาหารมื้อเย็น 1 มื้อ
2. ไล่สุกรสาวผ่านหน้าคอกตัวผู้เพื่อให้ได้กลิ่นตัวผู้
3. แยกขังเดี่ยวในคอกหรือห้องขังเดี่ยว
4. ไล่พ่อพันธุ์กระตุ้นการเป็นสัดทุกวัน
อาการเป็นสัดของแม่สุกร
1.กระวนกระวายอวัยวะเพศเริ่มบวมแดงขึ้น และอาจส่งเสียงร้องครวญคราง
2. ชอบขึ้นทับตัวอื่นและ มีน้ำเมือกไหลตามช่องคลอด
3. ปัสสาวะบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาอยู่ใกล้สุกรตัวผู้
4. เมื่อเอามือกดที่หลังเพศเมียหรือนั่งบนหลังแม่สุกรมีอาการยืนนิ่งและหูตั้งชัน
5. สุกรบางตัวกินอาการน้อยลง

การผสมพันธุ์สุกร
เมื่อแม่สุกรเป็นสัดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ประมาณ 12 – 18 ชั่วโมงหลังการเป็นสัด
ควรผสม 2 ครั้ง ในช่วงอากาศไม่ร้อน และผสมห่างจากครั้งแรก 12 ชั่วโมง

การจัดการแม่สุกรอุ้มท้อง
การให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % แม่สุกรอุ้มท้อระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. อุ้มท้องระยะ 94 วันให้อาหารวันละ 1.5 – 2.0 กิโลกรัม
2. อุ้มท้องระยะ 30 วันก่อนคลอดให้อาหารวันละ2.0 – 2.5 กิโลกรัม
3. ก่อนคลอด 5 – 7 วัน ให้อาหารวันละ 1.0 – 1.5 กิโลกรัม
การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด
สุกรตั้งท้องประมาณ114 วันหรือช่วง112 –116 วัน อาการคลอดดังนี้
1. อวัยวะเพศบวมแดงประมาณ 3 - 4 วันก่อนคลอด เต้านมเริ่มขยาย เมื่อบีบหัวนมจะมีน้ำนมไหล
ออกมา อาจคลอดภายใน 24 ชั่วโมง
2. กระวนกระวายไม่อยู่นิ่ง ตกใจง่าย กัดคอก ตะกุยพื้นด้วยขาหน้า เตรียมพื้นที่สำหรับการคลอดลูก
3. ปากช่องคลอดเริ่มขยายตัวและมีน้ำเมือกไหลออกมา เพื่อให้สะดวกในการผ่านของลูกอ่อน
ลูกสุกรคลอดแล้วเช็ดตัวแห้งและสะอาด ขังในกล่องกกจนแข็งแรง จึงให้กินนมน้ำเหลืองทุกตัว
ในปริมาณที่เพียงพอ ภายใน 3 ชั่วโมง หลังคลอดถ้าลูกสุกรที่อ่อนแอให้ช่วยรีดนมน้ำเหลืองให้กินโดยเร็ว
การจัดการลูกสุกรคลอดถึงหย่านม
ลูกสุกรแรกเกิดควรได้ดื่มนมน้ำเหลืองภายใน 3 ชั่วโมง และให้ไฟกก
1.การตัดสายสะดือ ตอนคลอดใหม่ๆ ใช้ด้ายมัดสายสะดือห่างจากท้องประมาณ 1นิ้ว และใช้มีดที่
ฆ่าเชื้อแล้วตัดห่างออกประมาณ 1นิ้ว แล้วจุ่มสายสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน และปล่อยสายสะดือค่อยๆแห้งไป
2. การตัดเขี้ยวลูกสุกร ระยะแรกเกิดเพื่อป้องกันเต้านมแม่และตัวลูกสุกรที่กัดกัน ตัดเขี้ยวให้เรียบ
เสมอโคนเหงือก ระวังอย่ามีส่วนแหลมหรือมีคม ทำให้เหงือกเป็นแผล กรรไกรตัดเขี้ยวควรแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อระหว่างการตัดเขี้ยว หรือใช้ เครื่องกรอฟัน

3.การฉีดธาตุเหล็ก ลูกสุกรเกิดใหม่ฉีดวันที่1 - 3 หลังจากคลอด และฉีดซ้ำอีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก
ประมาณ 7 วัน ฉีดครั้งละ 1 ซีซี. ฉีดที่กล้ามเนื้อหลังใบหูหรือที่โคนขา เมื่ออายุประมาณ 5 วัน ควรเริ่มให้อาหารเลียราง

4.การตอน คือ การผ่าเอาลูกอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง ตอนที่อายุ7 - 10 วัน ใช้มีดกรีดลงบนผนังหุ้ม
อัณฑะแต่ละข้าง แล้วจึงใช้นิ้วดึงลูกอัณฑะออกมาจากรอยผ่าของแผล ตัดลูกอัณฑะทั้ง 2 ข้างออกมาจากส่วนที่ติดอยู่แล้วใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผล โรยด้วยยาเนกาชัน

5. การทำเครื่องหมาย มีหลายวิธี เช่น การสักตัวเลขบนใบหู การใช้แผ่นพลาสติกติดใบหู และ
การตัดใบหู ลูกสุกรควรตัดใบหูในระยะอายุไม่เกิน 7 วัน

6. การตัดหางลูกสุกร ตั้งแต่แรกเกิดตัดหางให้สั้นตัด ½ นิ้ว จากโคนหาง ลดปัญหาการกัดหาง การติดเชื้อและสะดวกในการผสมพันธุ์

7. การหย่านม ควรหย่านมเมื่อลูกสุกรอายุได้ 21-28 วัน เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่
และลูกสุกร







วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงหมูหลุม




การเลี้ยงหมูหลุม : แนวทางการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ
“หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกการเลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก โดยมีวัสดุรองพื้นหลุม ดั้งเดิมมา
จากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจากการเกษตรเท่านั้น แต่มีปรัชญาแนวคิดอยู่เบื้องหลังของการทำงาน เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์ด้านการเกษตร วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร ดิน พืช สัตว์ จุลินทรีย์ พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด และน้ำ นำมาเป็นปัจจัยในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน พืชที่ปลูกส่วนหนึ่งนำมาเลี้ยงสัตว์ สัตว์ถ่ายมูลออกมาก็นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดินเพื่อการปลูกพืช รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เหมาะสมกับทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายอยู่ที่การพัฒนาชนบท การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การอยู่ดีกินดีของคนชนบท และสุขภาพของประชากร นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด

ประโยชน์การเลี้ยงหมูหลุม
1. ลดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 - 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และ
การใช้พืชผักนานาชนิด มาใช้เลี้ยงหมูเป็นหลัก
2. ลดภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเนื่องจากไม่ต้องทำความสะอาดพื้นคอก
3. ลดมลภาวะของเสียจากการเลี้ยงหมู “ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีแมลงวัน” ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ในชุมชน
4. ได้ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการปลูกพืช

ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง
การสร้างโรงเรือนหมูหลุม
1. ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
3. วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่น
ใช้ไม้ยูคาฯ สำหรับทำเสาและโครงหลังคา ใช้ไม้โครงไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือ
กระเบื้อง
4.พื้นที่สร้างคอกคำนวณจาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.2 ตารางเมตร
- คอกขนาด 2 * 3 เมตร เลี้ยงได้ 5 ตัว
- คอกขนาด 3 x 4 เมตร เลี้ยงหมูได้ 10 ตัว




วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์สุกร




ลักษณะของสุกรที่พึงประสงค์
เป้าหมายสำ คัญของการเลี้ยงสุกร คือ การส่งสุกรขุนจำ หน่ายตลาด
เมื่อมีนํ้าหนักเหมาะสมและทำ กำ ไรให้ผู้เลี้ยงสูงที่สุด ดังนั้น ลักษณะของสุกรที่
พึงประสงค์ ก็หมายถึงลักษณะอันเป็นที่ต้องการของตลาดนั่นเอง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
- มีอัตราการเจริญเติบโตดี หรือเพิ่มนํ้าหนักได้เร็ว ภายใน 6 เดือน
ควรจะมีนํ้าหนัก 100 กิโลกรัม
- มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดี หรือใช้อาหารน้อยแต่เพิ่ม
นํ้าหนักได้มาก โดยทั่วไปควรจะกินอาหารเพียง 2.7-3 กิโลกรัม
เพิ่มน้ำหนักให้ได  1 กิโลกรัม
- มีไขมันบาง เมื่อโตเต็มที่แล้วมีไขมันใต้ผิวหนังหนาไม่เกิน 2.5
เซนติเมตร
- มีเนื้อแดงมาก
- มีโครงสร้างร่างกายใหญ่ ลำ ตัวยาว สันหลังหนา ขาหน้า ขาหลัง
มีกล้ามเนื้อมาก
- มีสุขภาพสมบูรณ์
- ให้ลูกต่อครอกได้มาก และมีลูกเหลือรอดตายตอนหย่านมมาก
- ทนทานต่อสภาพอากาศร้อน

ลักษณะสำ คัญของสุกรพันธุ์แท้
ปัจจุบันนี้เกษตรกรไทยไม่นิยมเลี้ยงสุกรพันธุ์พื้นเมือง เนื่องจากโตช้า
ใช้เวลาเลี้ยงนาน คุณภาพเนื้อไม่ดี และให้ลูกต่อครอกน้อย ไม่ตรงตามความต้องการ
ของตลาด จึงได้มีการนำ พันธุ์สุกรที่ได้รับการปรับปรุงแล้วเข้ามาเลี้ยงหลายพันธุ์ และ
ปรากฏสุกรพันธุ์ดีแทบทุกพันธุ์สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งนั้น ประสิทธิภาพของสุกร
ทุกพันธุ์ใกล้เคียงกัน สุกรพันธุ์ต่างๆ จึงเข้ามาทดแทน พันธุ์พื้นเมืองและแพร่กระจาย
ทั่วไป สุกรพันธุ์แท้ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ปัจจุบันนี้มีหลายพันธุ์