วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคที่สำคัญในสุกร




1. โรคอหิวาต์สุกร เป็นได้สุกรทุกอายุ มีอัตราการป่วยเกือบ100 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการตาย 100
เปอร์เซ็นต์
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอชซี– ไวรัส
การติดต่อ ระบาดรวดเร็ว การสัมผัส การกินเข้าไป แม่ผ่านรกไปลูกในท้อง การสูดดมปัสสาวะ
และมูลสัตว์ป่วย ติดมากับคน และแมลงต่างๆ
อาการ แบบชนิดเฉียบพลัน รุนแรง หรือแบบเรื้อรัง สุกรบางตัวตายอย่างรวดเร็วภายใน 4 – 8
วันหลังจากรับเชื้อเข้าไป สุกรบางตัวจะมีไข้สูง แสดงอาการเคี้ยวฟัน หนาวสั่น หลั่งโก่ง เกร็งตัวแบบแข็งเป็นตะคริว แบบเรื้อรังสุกรจะมีอาการซูบผอม หลังโก่ง ขาหลังอ่อนแอ เดินไม่ตรง มักพบผิวหนังอักเสบเรื้อรังอยู่เสมอ การรักษา ไม่มียารักษาที่ให้ผล การป้องกันโรคแทรกซ้อนเท่านั้น
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันแก่สุกรทุกตัว เมื่ออายุ 2 – 3 เดือน แม่สุกรสาวควรฉีดวัคซีนก่อน
ผสมพันธุ์ พ่อและแม่พันธุ์ควรฉีดวัคซีนซ้ำทุกปี
2. โรคปากและเท้าเปื่อยในสุกร ระบาดอย่างรวดเร็ว แม่สุกรที่กำลังตั้งท้องมักแท้งลูก ติดต่อระหว่างสัตว์กีบคู่ด้วยกัน เช่น วัว ควาย แพะ แกะ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ประเทศไทยพบเชื้อชนิด เอ โอ เอเชีย 1
การติดต่อ การสัมผัสโดย การกิน การหายใจ และจากน้ำเชื้อของพ่อสุกร รวมทั้งพาหนะต่างๆ
อาการ อาการที่พบได้แก่ จมูกแห้ง ซึม เบื่ออาหาร เป็นไข้ ปากอักเสบ เกิดเม็ดตุ่มในกระพุ้ง
แก้ม เหงือก เพดานปาก ลิ้น และเท้า สุกรไม่อยากลุกเดินและกินอาหาร ต่อมาตุ่มเหล่านี้จะพุพอง
การรักษา ไม่มียารักษาโดยตรง
การป้องกัน โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
3. โรคแท้งติดต่อในสุกร คือ แท้งลูกและผสมติดยาก ติดต่อมนุษย์ได้
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บรูเซลล่า ซูอิส เกิดโรคในสุกรมากที่สุด
การติดต่อ การสัมผัสโดยตรง การกินอาหาร การดื่มน้ำที่มีเชื้อโรค การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
และการติดเชื้อทางบาดแผล
อาการ สุกรที่ติดเชื้อจะผสมไม่ติด สุกรท้องอาจแท้งลูกได้ ซึ่งมักเกิดในวันที่ 16 – 19 ของการตั้งท้อง สุกรตัวผู้จะแสดงอาการข้ออักเสบ เดินขากระเผลก อัณฑะอักเสบบวมทั้ง 2 ข้าง
การรักษา โรคนี้ไม่มียาที่รักษาได้ผล
การป้องกัน โรงเรือนให้สะอาดตลอดเวลา พ่อแม่พันธุ์ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคนี้จะต้องกำจัดทิ้ง
และควรตรวจเลือดเป็นประจำทุกปี
4. โรคพิษสุนัขบ้าเทียม เกิดได้สุกรทุกช่วงอายุ ส่วนใหญ่เกิดกับลูกสุกรหลังหย่านม สุกรขุน และสุกรอุ้มท้อง ในลูกสุกรมีอัตราการตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสุกรอายุ 4 – 6 สัปดาห์ จะมีอัตราการตายน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เฮอร์เปส ไวรัส
การติดต่อ การสัมผัสโดยตรง ทางน้ำมูก น้ำลาย ซากสัตว์ป่วย ปะปนในอาหารและน้ำ
อาการ สุกรเล็กเกิดโรคแล้วตายลงโดยไม่แสดงอาการป่วยมาก่อน บางตัวอาจพบอาการยืนหลัง
โก่ง หูตก ผิวหนังหยาบกร้าน ขนตัวชัน บางตัวหายใจมีเสียงผิดปกติ ลูกสุกรอายุ 2 – 3 สัปดาห์ อาจมี
อาการท้องเสีย อาเจียน น้ำลายเป็นฟอง มีไข้ อาการทางประสาท กล้ามเนื้อกระตุกและสั่น บางตัวแสดง
อาการชัก เคลื่อนไหวไม่ได้และเป็นอัมพาต อาจตายภายใน 12 ชั่วโมง
การรักษา การจัดการสุขาภิบาลที่ดี บริเวณที่เคยขังสุกรป่วยควรทำความสะอาดและทำลายด้วย
น้ำยาฆ่าเชื้อ
การป้องกัน ไม่มียารักษา สุกรป่วยแล้วสงสัยต้องแยกออกหรือทำลาย
5. โรคปอดอักเสบติดต่อในสุกร เป็นโรคเรื้อรังที่ระบบทางเดินหายใจ เกิดในสุกรทุกอายุ สุกรขนาดเล็กติดต่อได้ง่ายกว่าสุกรขนาดใหญ่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ มัยโคพลาสม่า ซูอิส นิวโมเนีย
การติดต่อ โรคนี้จะปะปนกับละอองน้ำเล็กๆ ในอากาศที่สัตว์ป่วยหายใจออกมา
อาการ มักเกิดกับสุกรเล็กอายุ 3 – 10 สัปดาห์โดยลูกสุกรจะแสดงอาการท้องเสีย ไอและจาม การ
ไอมักเป็นมากในตอนเช้า สุกรส่วนมากยังคงกินอาหารปกติและไม่ค่อยแสดงอาการป่วย แต่จะเจริญเติบโตช้า แคระแกรน
การรักษา ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอเตตราซัยคลิน และออกซี่เตตราซัยคลิน
การบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุกร
1) บันทึกจำนวนสุกร
2) บันทึกการผสมพันธุ์ การคลอด การหย่านม
3) บันทึกเกี่ยวกับสมรรถภาพของลูกสุกรภายในคอกนั้น ๆ
4) บันทึกเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของสุกร พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
5) บันทึกการให้ยา ให้วัคซีน บันทึกอัตราการตาย
6) บันทึกเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กิน
7) บันทึกรายรับ - รายจ่าย ของฟาร์ม

1 ความคิดเห็น: