วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การผลิตสุกรขุน





การดำเนินการผลิตสุกรขุน
โดยทั่วไปจะเลี้ยงลูกสุกรให้อยู่ในคอกอนุบาลจนอายุประมาณ 8 สัปดาห์ ก็จะย้ายสุกรเหล่า
นี้ออกไปคอกสุกรรุน่ ซึ่งน้ำ หนักประมาณ 14-18 กิโลกรัม ซึ่งการกระทำ แบบนี้จะมีผลทำ ให้ลูกสุกร
เกิดความเครียด และชงักการเจริญเติบโตถึง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาอันสั้น คือครั้งแรกเมื่อย้ายจากซอง
คลอดมาอยู่คอกอนุบาล และจากคอกอนุบาลไปอยู่คอกสุกรรุ่นและหากมีการเปลี่ยนสูตรอาหารด้วย
ก็จะยิ่งทำ ให้ลูกสุกรเครียดมากขึ้นอีก มีรายงานการวิจัยกล่าวว่า หลังจากย้ายลูกสุกรจากซองคลอด
มาอยู่ในคอกอนุบาลแล้วปล่อยให้ลูกสุกรอยู่ในคอกอนุบาล และกินอาหารสูตรเดิมจนกระทั่งอายุ 10
สัปดาห์(หรือ 12 สัปดาห์) จะทำ ให้ลูกสุกรมีการเจริญเติบโตเร็ว ทำ นํ้าหนักได้ 30-40 กิโลกรัม ที่
10-12 สัปดาห์ และมีอัตราการแลกเนื้อดีด้วย

1. ก่อนเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์
ก่อนที่จะนำ ลูกสุกรรุ่นใหม่เข้าจะต้องมีการทำ ความสะอาดโรงเรือน และอุปกรณ์ที่ใช้ใน
การเลี้ยง แล้วทำ การฆ่าเชื้อโรค ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี โรงเรือนที่ผ่านการเลี้ยงสุกร
มาก่อนแล้ว ควรจะปล่อยพักไว้อย่างน้อยเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตัดชีพจักรของเชื้อ
โรคต่าง ๆ
2. การรับลูกสุกรเข้าเลี้ยง
ในระยะแรกควรจะมีวัสดุรองพื้นคอกให้ลูกสุกรเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกสุกร ในขณะที่ลูก
สุกรเข้าใหม่ ๆ ยังไม่ต้องให้อาหาร ควรจัดให้นํ้าสะอาดแก่ลูกสุกรก่อน เพื่อลดความเครียดจากการ
ขนย้าย ควรจะมีการจัดกลุ่มลูกสุกรใหม่โดยพิจารณาขนาดและนํ้าหนัก ทั้งนี้เพื่อให้ลูกสุกรที่อยู่ใน
คอกเดียวกันมีความสมํ่าเสมอกันมากที่สุด และไม่ควรจัดขนาดกลุ่มสุกรใหญ่เกินไป ซึ่งวิธีการจัด
กลุม่ สุกรไดก้ ล่าวมาแล้วในบทก่อน ทั้งนี้ต้องคำ นึงถึงความต้องการพื้นที่ของสุกรในแต่ละช่วงน้ำ หนัก
เมื่อครบกำ หนดย้ายมาควรทำ การคัดเลือกและเก็บข้อมูลเบื้องต้นก่อน
1. ชั่งนํ้าหนักลูกสุกรทุกตัวตามเบอร์
2. แยกเพศ พันธุ์
3. นับจำ นวนและเช็คเต้านมบอดหรือไม่พร้อมกันไป ถ้าเป็นสุกรพันธุ์ควรดูให้
ละเอียดตั้งแต่เรื่องเพศ ลักษณะการยืน การเดิน95
การย้ายคอกบ่อย ๆ ไม่ควรจะกระทำ การให้ลูกสุกรอยู่น้อยตัวต่อคอกอย่างสบายจนโตจะดี
กว่าอยู่มากตัว

3. การให้อาหาร
ควรจะเริ่มให้อาหารแก่ลูกสุกรหลังจากที่รับเข้ามาแล้ว 12-24 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อรอให้ลูก
สุกรหายเหนื่อย และคลายเครียดจากการขนส่งและการต่อสู้กันเนื่องจากการรวมฝูงใหม่ ปริมาณ
อาหารที่ให้ในวันแรกควรเริ่มให้แต่น้อย แล้วจึงเพิ่มให้เต็มที่ในวันที่ 3 หลังรับเข้าสำ หรับรายละเอียด
ของอาหารและการให้อาหารจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไปภายหลัง
4. การควบคุมและป้องกันโรค
สำ หรับสุกรขุนมีความจำ เป็นที่จะต้องทำ วัคซีนเพื่อป้องกันโรคบางชนิดดังต่อไปนี้
อายุสุกร (สัปดาห์)                     วัคซีนป้องกันโรค
      8                                                 ปากและเท้าเปื่อย
      9                                                 ปากและเท้าเปื่อย
     10                                               อหิวาต์สุกร (ถ้ามีปัญหา)
     12                                               พิษสุนัขบ้าเทียม (ถ้ามีปัญหา)
การเสริมยาปฏิชีวนะในอาหารเพื่อปรับปรุงสุขภาพ และความสามารถของสุกรนั้นไม่มีความ
จำ เป็นถ้าในฟาร์มมีการจัดการที่ดีแล้ว เพราะผลตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะจะน้อยไม่คุ้มค่ากับการ
เพิ่มต้นทุน แต่การเสริมปฏิชีวนะอาจจะได้ผลบ้างในกรณีที่เกิดความเครียดแก่สัตว์ ในกรณีที่พบว่า
มีสุกรป่วยจะต้องแยกออกจากฝูงโดยเร็ว นำ ไปขังไว้ในคอกที่จัดไว้สำ หรับรักษาสุกรป่วย เพื่อการดูแล
รักษาต่อไป

5. การทำ รายงานประกอบการควบคุมการผลิต
เพื่อควบคุมการผลิตให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ จำ เป็นที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
และจัดทำ รายงานสรุปผลการดำ เนินการผลิตว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาข้อบกพร่องอะไรบ้างที่จะ
ต้องแก้ไข



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น