วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การจัดการฟาร์มสุกร






การจัดการสุกรแม่พันธุ์
การให้อาหารสุกรพันธุ์ทดแทน จำกัดอาหารไม่ให้อ้วนเกินไป สุกรน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม
ใช้อาหารโปรตีน 16% ให้วันละ 2.25 กิโลกรัม
สุกรสาว อายุ6 เดือน น้ำหนักประมาณ 80 กก. ย้ายสุกรสาวจากคอก
ขังรวมมายังคอกขังเดี่ยว เพื่อเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ต่อไป
หลักการกระตุ้นสุกรสาวให้เป็นสัด
1. งดอาหารมื้อเย็น 1 มื้อ
2. ไล่สุกรสาวผ่านหน้าคอกตัวผู้เพื่อให้ได้กลิ่นตัวผู้
3. แยกขังเดี่ยวในคอกหรือห้องขังเดี่ยว
4. ไล่พ่อพันธุ์กระตุ้นการเป็นสัดทุกวัน
อาการเป็นสัดของแม่สุกร
1.กระวนกระวายอวัยวะเพศเริ่มบวมแดงขึ้น และอาจส่งเสียงร้องครวญคราง
2. ชอบขึ้นทับตัวอื่นและ มีน้ำเมือกไหลตามช่องคลอด
3. ปัสสาวะบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาอยู่ใกล้สุกรตัวผู้
4. เมื่อเอามือกดที่หลังเพศเมียหรือนั่งบนหลังแม่สุกรมีอาการยืนนิ่งและหูตั้งชัน
5. สุกรบางตัวกินอาการน้อยลง

การผสมพันธุ์สุกร
เมื่อแม่สุกรเป็นสัดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ประมาณ 12 – 18 ชั่วโมงหลังการเป็นสัด
ควรผสม 2 ครั้ง ในช่วงอากาศไม่ร้อน และผสมห่างจากครั้งแรก 12 ชั่วโมง

การจัดการแม่สุกรอุ้มท้อง
การให้อาหารโปรตีนประมาณ 15-16 % แม่สุกรอุ้มท้อระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. อุ้มท้องระยะ 94 วันให้อาหารวันละ 1.5 – 2.0 กิโลกรัม
2. อุ้มท้องระยะ 30 วันก่อนคลอดให้อาหารวันละ2.0 – 2.5 กิโลกรัม
3. ก่อนคลอด 5 – 7 วัน ให้อาหารวันละ 1.0 – 1.5 กิโลกรัม
การจัดการแม่สุกรก่อนคลอด
สุกรตั้งท้องประมาณ114 วันหรือช่วง112 –116 วัน อาการคลอดดังนี้
1. อวัยวะเพศบวมแดงประมาณ 3 - 4 วันก่อนคลอด เต้านมเริ่มขยาย เมื่อบีบหัวนมจะมีน้ำนมไหล
ออกมา อาจคลอดภายใน 24 ชั่วโมง
2. กระวนกระวายไม่อยู่นิ่ง ตกใจง่าย กัดคอก ตะกุยพื้นด้วยขาหน้า เตรียมพื้นที่สำหรับการคลอดลูก
3. ปากช่องคลอดเริ่มขยายตัวและมีน้ำเมือกไหลออกมา เพื่อให้สะดวกในการผ่านของลูกอ่อน
ลูกสุกรคลอดแล้วเช็ดตัวแห้งและสะอาด ขังในกล่องกกจนแข็งแรง จึงให้กินนมน้ำเหลืองทุกตัว
ในปริมาณที่เพียงพอ ภายใน 3 ชั่วโมง หลังคลอดถ้าลูกสุกรที่อ่อนแอให้ช่วยรีดนมน้ำเหลืองให้กินโดยเร็ว
การจัดการลูกสุกรคลอดถึงหย่านม
ลูกสุกรแรกเกิดควรได้ดื่มนมน้ำเหลืองภายใน 3 ชั่วโมง และให้ไฟกก
1.การตัดสายสะดือ ตอนคลอดใหม่ๆ ใช้ด้ายมัดสายสะดือห่างจากท้องประมาณ 1นิ้ว และใช้มีดที่
ฆ่าเชื้อแล้วตัดห่างออกประมาณ 1นิ้ว แล้วจุ่มสายสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน และปล่อยสายสะดือค่อยๆแห้งไป
2. การตัดเขี้ยวลูกสุกร ระยะแรกเกิดเพื่อป้องกันเต้านมแม่และตัวลูกสุกรที่กัดกัน ตัดเขี้ยวให้เรียบ
เสมอโคนเหงือก ระวังอย่ามีส่วนแหลมหรือมีคม ทำให้เหงือกเป็นแผล กรรไกรตัดเขี้ยวควรแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อระหว่างการตัดเขี้ยว หรือใช้ เครื่องกรอฟัน

3.การฉีดธาตุเหล็ก ลูกสุกรเกิดใหม่ฉีดวันที่1 - 3 หลังจากคลอด และฉีดซ้ำอีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก
ประมาณ 7 วัน ฉีดครั้งละ 1 ซีซี. ฉีดที่กล้ามเนื้อหลังใบหูหรือที่โคนขา เมื่ออายุประมาณ 5 วัน ควรเริ่มให้อาหารเลียราง

4.การตอน คือ การผ่าเอาลูกอัณฑะออกทั้ง 2 ข้าง ตอนที่อายุ7 - 10 วัน ใช้มีดกรีดลงบนผนังหุ้ม
อัณฑะแต่ละข้าง แล้วจึงใช้นิ้วดึงลูกอัณฑะออกมาจากรอยผ่าของแผล ตัดลูกอัณฑะทั้ง 2 ข้างออกมาจากส่วนที่ติดอยู่แล้วใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผล โรยด้วยยาเนกาชัน

5. การทำเครื่องหมาย มีหลายวิธี เช่น การสักตัวเลขบนใบหู การใช้แผ่นพลาสติกติดใบหู และ
การตัดใบหู ลูกสุกรควรตัดใบหูในระยะอายุไม่เกิน 7 วัน

6. การตัดหางลูกสุกร ตั้งแต่แรกเกิดตัดหางให้สั้นตัด ½ นิ้ว จากโคนหาง ลดปัญหาการกัดหาง การติดเชื้อและสะดวกในการผสมพันธุ์

7. การหย่านม ควรหย่านมเมื่อลูกสุกรอายุได้ 21-28 วัน เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่
และลูกสุกร







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น